วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มหาสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐาน หมายถึง ธรรมเป็นอารมณ์ของสติ , ขัอปฏิบัติอันมีสติเป็นประธาน ได้แก่ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกให้ได้
มหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุในสมัยที่ประทับอยู่ ณ กัมมาสธัมมะ รัฐกุรุ มีใจความย่อว่า “ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นหนทางเดียว (คือ ๑. เป็นทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่แต่ผู้เดียว ๒. เป็นทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น ๓. เป็นทางปฏิบัติในศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ ๔. เป็นทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียวคือพระนิพาน) เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อความดับทุกข์และโสมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม(อริยมรรค) เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ เป็นผู้มีความเพียร มีสติ สัมปชัญญะในกิจ ๔ ประการ คือ
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
กำจัดอภิชาและโทมนัส สติปัฏฐาน ๔ นี้เรียกอีกอย่างว่า เอกายนมรรค
การเจริญเอกายนมรรคเพื่อผล ๕ ประการ คือ
๑. เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
๒. เพื่อพ้นจากความเศร้าโศก และความร่ำไรรำพัน
๓. เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส
๔. เพื่อบรรลุธรรมเครื่องพ้น คือ อริยมรรค
๕. เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
ผู้เจริญสติปัฏฐานต้องมีคุณธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. อาตาปี มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
๒. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ
๓. สติมา มีสติ
เมื่อถึงพร้อมด้วยธรรม ๓ อย่างนี้เจริญสติปัฏฐาน ย่อมกำจัดอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดีและความยินร้าย) ในโลกได้

(หนังสือบูรณาการแผนใหม่ นักธรรมชั้นเอก รวมทุกวิชา.กรุงเทพฯ:เลี่ยงเชียง,๒๕๔๗.)

นิวรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใจที่เป็นสมาธิ ย่อมเห็นสภาพความเป็นจริงของสิ่งต่างๆได้ รู้ผิดชอบชั่วดี